Newsคุณสมบัติของฉนวน

ฉนวนใยแร่ (Mineral rock)

Mineral-Fiber

ฉนวนใยแร่หรืออาจเรียกว่าหินแร่ (Mineral rock) หรือฝอยขี้โลหะ (Slag wool) ถูกผลิตขึ้นมาในลักษณะคล้ายคลึงกับฉนวนใยแก้ว โดยทั่วไปวัสดุที่นำมาใช้การผลิตแร่ คือ ขี้โลหะจากการผลิตเหล็กกล้า ทองแดง หรือตะกั่ว ฉนวนใยแร่จะมีรูปแบบคล้ายคลึงกับฉนวนใยแก้ว ทั้งการใช้งานก็มีลักษณะที่เหมือนกันทั้งในอาคารบ้านเรือนอาคารเชิงพาณิชย์ และอาคารอุตสาหกรรม ฉนวนใยแร่แบบเส้นใยอัดเป็นแผ่นและเป่าฝอยที่ผลิตขึ้นมาจะมีความหนาแน่นในช่วง 24.0 ถึง 40.0 kg/m3 สำหรับแบบเส้นใยอัดเป็นแผ่นจะมีสภาพต้านทานความร้อนประมาณ 22.40 ถึง 25.72 m.K/W ที่อุณหภูมิ 24 C และมีสภาพนำความร้อนในช่วง 0.039 ถึง 0.045 W/m.K ส่วนแบบเป่าฝอยจะมีสภาพนำความร้อนเท่ากับ 0.05 W/m.K ที่ 24 C มีสภาพต้านทานความร้อนเท่ากับ 20.42 m.K/W สภาพซึมเข้าไปได้ของน้ำปรากฏว่ามีค่ามากกว่า 180 perm-cm แต่การดูดซึมน้ำเพียง 2 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก

ใยแร่ทำมาจากหินหรือขี้โลหะ ดังนั้นจึงไม่เป็นวัสดุที่ติดไฟ และมีอุณหภูมิหลอมละลายมากกว่า 1200 c อย่างไรก็ตามตัวประสาน (Binder) ทีถูกผสมเข้าไปอาจเป็นวัสดุที่ติดไฟได้ ระดับการกระจายเปลวไฟของวัสดุชนิดนี้พบว่ามีน้อยกว่าระดับ 25 (ทดสอบตาม ASTM-84) การฉาบฉนวนด้วยกระดาษเคลือบแอสฟัลต์ หรือกระดาษแผ่นบางซ้อนทับกัน อาจใช้สำหรับเป็นผิวหน้าช่วยลดทอนการซึมผ่านของไอน้ำของฉนวนแบบเส้นใยอัดเป็นแผ่น แต่เนื่องจากผิวหน้าเหล่านี้สามารถลุกไหม้ได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการหันเข้าหาเปลวไฟหรืออุณหภูมิสูง ซึ่งการลุกไหม้ของผิวหน้าหรือตัวประสานอินทรีย์ในฉนวนสามารถทำให้เกิดเป็นไอพิษได้

คุณสมบัติเช่น เสถียรภาพของขนาด สมรรถนะทางความร้อน และสภาพการติดไฟพบว่าไม่เป็นผลกระทบจากอายุการใช้งาน อุณหภูมิที่เป็นวัฎจักรหรือสภาพอากาศ เนื่องจากใยแร่ไม่มีความยืดยุ่นได้เหมือนใยแก้ว จึงไม่สามารถปรับสภาพคืนสู่ความหนาออกแบบได้ภายหลังการบรรจุ ดังนั้นสภาพต้านทานความร้อนออกแบบอาจต่ำลง สำหรับกรณีเมื่อเกิดความชื้นในฉนวนใยแร่ สภาพนำความร้อนจะลดลง แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะชั่วคราว เมื่อฉนวนแห้งคุณสมบัติจะกลับมาเหมือนเดิม

ใยแร่จะไม่ช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย รวมทั้งไม่มีผลกระทบจากสัตว์ต่าง ๆ ด้วย และเนื่องจากใยแร่อาจมีสะเก็ดเกิดขึ้นในเนื้อฉนวนจากการที่ขี้โลหะ ที่ใช้ทำให้เกิดการหมุนตัวออกมาเป็นอนุภาคย่อย ๆ แทนที่จะเป็นเส้นใยซึ่งถ้าหากในเนื้อฉนวนมีสะเก็ดบรรจุอยู่มากจะเป็นผลให้สภาพนำความร้อนปรากฏสูงขึ้นกว่าการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นของฉนวนที่สมบรูณ์กันใยแร่ผลิตในรูปของแผ่นอัด (Board) ด้วย ซึ่งจะมีสภาพต้านทานความร้อนประมาณ 24.8 m.K/W ที่ความหนาแน่นในช่วง 144.2 ถึง 176.2 kg/m3 ใยแร่แบบแผ่นอัดจะใช้ฉนวนสำหรับมุงหลังคา ในลักษณะวัสดุหุ้มอาคาร และการประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ

ขอบคุณข้อมูล และภาพ

  • หนังสือ คู่มือ ฉนวนความร้อน
  • wlimg

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.