News

จากยอดไม้สู่พื้นป่า

จากยอดไม้สู่พื้นป่า

จากยอดไม้สู่พื้นป่า

โดยทั่วไปป่าดิบชื้นมีความชุ่มชื้นสูง พรรณไม้ยืนต้นขึ้นอยู่กันอย่างหนาแน่น ส่วนมากประกอบด้วยไม้ยืนต้น (Tree) ไม้พุ่ม (Shrub) และเถาวัลย์เรียงเป็นระดับหรือชั้น (Strata) หลายชั้น  ทำให้พื้นล่างจึงไม่ค่อยมีแสงแดดส่องถึงมากนัก ซึ่งแต่ละระดับเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์และสิ่งมีชีวิตที่น่าพิศวงอีกหลายชนิดด้วยกัน เรามาดูกันว่านักพฤกษศาสตร์แบ่งระดับชั้นต้นไม้ในป่าอย่างไร

  • ชั้นต้นไม้สูงสุด(Emergent layer) ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ประเภทไม้ผลัดใบ (มีใบอยู่บนต้นตลอดปี) มีเนื้อแข็ง และสูงถึง 60 เมตร มีใบกว้าง ซึ่งใบจะคายน้ำหรือปล่อยให้น้ำระเหยออกมาประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำฝนที่ตกลงมา โดย 25% ระเหยสู่บรรยากาศและที่เหลือไหลลงสู่แม่น้ำหรือลำห้วย
  • ชั้นเรือนยอด(Canopy layer) ชั้นนี้เปรียบเสมือนกับ “หลังคา” ของระดับพื้นล่างอีก 2 ชั้น ประกอบด้วยต้นไม้ที่มีความสูง 30 – 46 เมตร ทำหน้าที่รับแสงแดดและน้ำฝน เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตต้นไม้ในชั้นนี้มักจะมีใบเป็นรูปไข่ปลายแหลม ซึ่งดึงดูดสัตว์จำพวงงู กระรอก กระแต ลิง ค่าง ชะนี
  • ชั้นพื้นล่าง(Understory layer) ชั้นนี้ได้รับแสงน้อย ประกอบด้วยไม้ที่มีความสูง 6 เมตร มีใบบางและกว้างเพื่อจะดูดซับแสงที่เล็ดลอดมาให้ได้มาก สัตว์ที่อาศัยอยู่ในชั้นนี้ได้แก่ เสือ นก และแมลงนานาชนิด
  • ชั้นพื้นผิวดิน (Forest floor) มีพืชไม่กี่ชนิดขึ้นอยู่บนชั้นผิวดิน ที่มืดปราศจากแสงสว่าง พืชจำพวกเถาวัลย์จะเกาะเกี่ยวต้นไม้ใหญ่ที่ห้อยอยู่ นอกจากนี้ยังมีพืชจำพวกมอสส์และเฟิร์น ชั้นนี้อุดมไปด้วยธาตุอาหารทีเกิดจากการย่อยสลายของใบไม้ ซากพืชซากสัตว์ซึ่งเป็นธาตุอาหารอันโอชะของต้นไม้ใหญ่น้อยในป่า

ป่าดิบชื่นใช้ประโยชน์จากฝนอย่างไร

นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 3 ใน ส่วน 4 ส่วน ของฝนที่ตกบริเวณป่าดิบชื้น จะถูกสกัดไว้ด้วยเรือนยอดหรือชั้นของใบไม้ และกึ่งก้านสาขาของต้นไม้แล้วระหายกลับคืนสู่บรรยายกาศทันทีส่วนที่เหลือจะไหลลงสู่พื้นดินเบื้องล่างและซึมลงไปในดิน ซึ่งมีความสามารถดูดซับน้ำไว้ได้ปริมาณมาก ต้นไม้ในป่าดิบชื้นมักจะมีรากลึกและเก็บน้ำได้มาก ช่วยลดอัตราการเกิดน้ำท่วม และลดการพังทลายของหน้าดิน

ปากใบ (stoma เป็นรูเปิดด้านล่างของใบ) จะปล่อยให้น้ำเหลือใช้ระเหยออกสู่งบรรยากาศในรูปของไอน้ำ (vapor) โดยกระบวนการที่เรียกว่า การคายน้ำ (tran spiration) น้ำที่ระเหยสู่บรรยากาศจะรวมตัวกันเกิดเมฆและฝนตกลงมาสู่ป่าเป็นวัฎจักรเรื่อยไป ดังภาพที่น้องเห็นในหน้าที่ผ่านมา

ทำไมเราต้องรักษาป่าดิบชื้น

ป่าดิบชื้นและป่าไม้ประเภทอื่น ๆ ช่วยรักษาสมดุลของสภาพภูมิอากาศโลกโดยควบคุมการแลกเปลี่ยนน้ำและก๊าชคาร์บอนระหว่างพื้นโลกและชั้นบรรยากาศ สำหรับต้นไม้และพืชต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ดูดซับพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ และดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(Co2) ที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) จากบรรยากาศอีกด้วย

ต้นไม้ทำหน้าที่เสมือนเป็นฟองน้ำ ธรรมชาติช่วยดูดซับคาร์บอน ต้นไม้ในป่าช่วยดูดซับคาร์บอนที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหินได้ถึงร้อยละ 25 ที่สำคัญต้นไม้ยังเป็นแหล่งผลิตอาหารของโลก โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง(photosynthesis) ซึ่งต้นไม้จะเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำให้เป็นน้ำตาล โดยอาศัยพลังงานแสงและเมื่อต้นไม้ยังสะสมคาร์บอนไว้ที่ใบและลำต้นในปริมาณสูงระหว่างการเจริญเติบโต ป่าดิบชื้นยังเป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์เฉพาะถิ่น (endemic) ที่พบแห่งเดียวในโลก จากรายงานของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (U.S.National Academy of Sciences)ประมาณว่าในพื้นที่ป่าดิบชื้น 4 ตารางไมล์ จะมีไม้ดอกถึง 1,500 ชนิด ต้นไม้ใหญ่ 750 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 125 ชนิด นก 400 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 100 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 60 ชนิด มีผีเสื้อ 150 ชนิด และแมลง 42,000 ชนิด อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าดิบชื้น 2.5 เอเคอร์ (6.25 ไร่) ป่าดิบชื้นจึงเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพของโลก

เราจะช่วยอนุรักษ์ป่าดิบชื้นได้อย่างไร

น้อง ๆ อาจจะนึกไม่ถึงว่า การช่วยกันรักษาความสะอาดของแหล่งน้ำ และการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ให้มีมลพิษในอากาศเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนการช่วยกันประหยัดพลังงาน ก็สามารถช่วยให้ป่าดิบชื้นอยู่คู่กับโลกไปได้อีกนาน เพราะสภาพภูมิอากาศที่สะอาด ช่วยลดอันตรายให้แก่ป่า

 

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.