Newsคุณสมบัติของฉนวน

ฉนวนใยแก้ว (Glass Fiber)

ฉนวนใยแก้ว-(Glass-Fiber)

ฉนวนใยแก้ว ผลิตขึ้นมาจากฟั่นก้อนแก้วแข็งด้วยการปั่นจนเป็นเส้นเกลียวบาง ฉนวนชนิดนี้ที่ทำออกมามีทั้งลักษณะแบบลูสฟิลล์แบบแผ่นอัด (Boards) และเส้นใยอัดเป็นแผ่นหรือแบบคลุมหรือห่ม ฉนวนแบบเส้นใยอัดเป็นแผ่นหรือแบบคลุมหรือห่มโดยทั่วไปจะมีความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 9.61 ถึง 16.02 kg/m3 และจากผลของเส้นใยที่ยาว วัสดุชนิดนี้จึงมีแนวโน้มที่จะคืนสภาพความหนาออกแบบใหม่ได้ภายหลังจากการบรรจุเมือใช้ลักษณะใยอัดเป็นแผ่น ซึ่งทำให้ฉนวนแบบลูสฟิลล์ที่ได้มีสภาพต้านทาน
สำหรับใยแก้วแบบลูสฟิลล์ทำได้ด้วยการโม่ใยแก้วอัดเป็นแผ่น ซึ่งทำให้ฉนวนแบบลูสฟิลล์ที่ได้สภาพต้านทานความร้อนประมาณ 19.84 m.K/W และทั้งแบบลูสฟิลล์และแบบอัดเป็นแผ่นหรือคลุมของฉนวนใยแก้ว น้ำสามารถจะซึมเข้าไปได้เป็นจำนวนมากกว่า 180 perm-cm แต่การดูดซับน้ำไว้กลับน้อยไม่เกิน 1 เปอร์เซนต์
เนื่องจากใยแก้วด้วยตัวเองเป็นสารอินนทรีย์ จึงเป็นวัสดุที่ไม่ลุกไหม้ อย่างไรก็ตามตัวประสานอินทรีย์ที่ใช้ในการประสานฉนวนแบบเส้นใยอัดเป็นแผ่นสามารถลุกไหม้ได้ ฉะนั้นวัสดุที่ใช้เป็นตัวสาน ASTM E-84 จึงกำหนดให้มีคุณสมบัติโดยประมาณดังนี้:ระดับการกระจายของเปลวไฟ 15-20 ระดับการมีส่วนเป็นเชื้อเพลิง 5 – 15 และระดับการเกิดควัน 0 – 20 สำหรับผิวหน้าของฉนวนใยแก้วที่ใช้กับอาคารโดยปกตืจะประกอบด้วยกระดาษเคลือบแอสฟัลต์ หรือกระดาษแผ่นบางซ้อนทับกัน และเนื่องจากผิวหนังเป็นผิวที่สามารถลุกไหม้ได้ จึงไม่สามารถใช้ลักษณะหันเข้าหาเปลวไฟหรืออุณหภูมิเกินกว่า 80 องศาซึ่งการเกิดการลุกไหม้ขอวผิวหน้า หรือตัวประสานอินทรีย์สามารถทำให้เกิดควันที่เป็นอันตรายได้
ฉนวนใยแก้วแบบเส้นใยอัดเป็นแผ่นไม่ปรากฎว่ามีการยุบตัวหรือหดตัวามอายุการใช้งาน อย่างไรก็ตามแบบลูสฟิลล์อาจมีการยุบตัวหากใช้ฉนวนที่ความหนาแน่นต่ำกว้าข้อกำหนดของบริษัทผู้ผลิต ส่วนคุณสมบัติของวัสดุด้านอื่นๆ เช่น สมรรถนะทางความร้อน และ สภาพต้านทานไฟไหม้ ไม่ปรากฏว่ามีผลกระทบเนื่องจากอายุการใช้งานและอุณหภูมิที่เป็นวัฏจักร ณ สภาวะอุณหภูมิที่ติดตั้งปกติ


ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ

  • หนังสือคู่มือฉนวน
  • www.greenbuildingadvisor.com

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.