Newsคุณสมบัติของฉนวน

ฉนวนใยเซลลูโลส

cellulose-insulation

ฉนวนใยเซลลูโลส ผลิตขึ้นมาจากการนำไม้หรือกระดาษที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิล (Recycle) ด้วยการแผ่และดึงให้กระจายออกทำการย่อยละเอียดจนเป็นปุ๋ย จากนั้นทำการประสานเข้าด้วยกันด้วยกรดบอแร็กซ์ บอแร๊กซ์ 5 โมล หรือส่วนผสมของวัสดุทั้งสองนี้ ซึ่งจะช่วยให้มีสภาพต้านทานการลุกไหม้ การดูดซับความชื้น และยับยั้งการเจริญเติบโตของฟังไจได้ในบางส่วนด้วย

เนื่องจากฉนวนชนิดนี้นับเป็นฉนวนที่มีคุณสมบัติทางความร้อนดี ราคาถูก และผลิตด้วยกรรมวิธีง่ายจึงเป็นฉนวนที่นิยมชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ประกอบการผลิต สถาปนิก วิศวกร หรือช่างเทคนิคที่ออกแบบติดตั้งฉนวนที่เป็นมือใหม่ ไม่ชำนาญงาน จะทำให้การออกแบบติดตั้งฉนวนมีความหนาแน่นที่ไม่เพียงพอ และการป้องกันไฟไหม้ในตัวของฉนวนไม่เหมาะสมด้วย ในสหรัฐอเมริกาได้เกิดปัญหานี้ขึ้นมาจนทำให้รัฐต้องเข้ามาควบคุมกำหนดมาตรฐาน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

สำหรับการประยุกต์ใช้งานฉนวนใยเซลลูโลส จะใช้งานในลักษณะวัสดุแบบรูสฟิลล์ในโพรงผนังและห้องเพดานของอาคารที่อาศัย แต่อาจจะใช้ในลักษณะแบบเส้นใยอัดเป็นแผ่น (Batts) และแบบคลุม (Blankets) หรือ แบบโฟมฉีดเข้าไปในช่อง ซึ่งลักษณะนี้จะใช้สำหรับเป็นฉนวนใต้ดาดฟ้า หลังคา หรือ ถังใต้ดินขนาดใหญ่

ในลักษณะวัสดุแบบรูสฟิลล์ ใยเซลลูโลส มีสภาพความร้อนปรากฏอยู่ระหว่างช่วง 0.04 – 0.045 W/m.K ซึ่งสมนัยกับสภาพต้านทานความร้อนช่วง 22.2-25 m.K/W ที่ความหนาแน่นฉนวนเท่ากับ 41.65 ถึง 48.06 kg/m3

ถ้าฉนวนใยเซลลูโลสใช้งานที่ความหนาแน่นต่ำกว่าความหนาแน่นดังกล่าวข้างต้น (ไม่ได้มาตรฐานเนื่องจากผลของอากาศที่พ่นเข้าไปในเครื่องจักรผลิตฉนวนมากเกินไป) ฉนวนจะยุบตัวลงทีละน้อยจนกระทั่งอาจสูงถึง 20 เปอร์เซนต์จากผลของอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงการสั่นสะเทือน และผลกระทบของความชื้น ซึ่งการยุบตัวลงทีละน้อยจนกระทั่งอาจสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์จากผลของอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงการสั่นสะเทือน และผลกระทบความชื้น ซึ่งการยุบตัวนี้จะเป็นสาเหตุทำให้ความหนาของฉนวนที่ติดตั้งลดลง และสภาพต้านทานความร้อนของวัสดุก็ลดลงด้วย

ผลกระทบเหล่านี้จะเป็นผลโดยตรงกับเทคนิคการใช้งาน เมื่อวัสดุถูกพ่นตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตอย่างเข้มงวด ปัญหาการยุบตัวจะไม่มี ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในลักษณะแนวราบ หรือการใช้งานด้วยการพ่นเข้าไปในผนัง

นอกจากนี้หากใยเซลลูโลสไม่ได้ผสมสารที่หน่วงไฟไหม้ด้วยแล้ว โดยธรรมดาฉนวนชนิดนี้จะเป็นวัสดุที่ติดไฟได้อย่างไรก็ตามการผสมสารหน่วงไฟไหม้จะต้องมีส่วนผสมของกรดบอแร็กซ์ และบอแร็กซ์ 5 โมลด้วยองค์ประกอบที่ถูกต้อง หากส่วนผสมไม่ถูกต้อง เช่น มีเฉพาะ กรดบอแร็กซ์ และบอแร็กซ์ 5 โมลด้วยองค์ประกอบที่ถูกต้อง หากส่วนผสมไม่ถูกต้อง เช่น มีเฉพาะ กรดบอแร็กซ์ 25 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เมื่อนำไปสัมผัสกับวัสดุบางชนิด เช่นเหล็กเกล้าคาร์บอนต่ำ พบว่าจะเกิดการกัดกร่อนขึ้น หรือแม้แต่ใยเซลลูโลสที่ไม่ผสมสารหน่วงไฟไหม้ก็จะกัดกร่อนเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำเช่นกัน

เมื่อนำใยเซลลูโลสมาทดสอบตาม ASTM C739-73 ฉนวนควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากการดูดซึมน้ำไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร อย่างไรก็ตามสำหรับฉนวนใยเซลลูโลสแบบลูสฟิลล์ มีดีกรีการซึมผ่านของไอน้ำสูง และจะดูด ซึมไว้ถึง 98 เปอร์เซ็นต์โดยไม่น้ำหนัก ผลที่ตามมาคือ ทำให้มีปัญหาในการใช้ฉนวนชนิดนี้ในสิ่งแวดล้อมที่มีความเสียงสูง

ขอบคุณข้อมูล และภาพ

  • หนังสือ คู่มือ ฉนวนความร้อน

 

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.